โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชี้ ความมั่นคงทางอาหารของไทย 2565 พร้อมผลิตอาหารมีคุณภาพ ผลักดันเป็นครัวของโลก ครัวไทยสู่ครัวโลก 2565 – นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในรายการ “คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ก.ค.ที่ผ่านมา
โดยกล่าวถึงสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารของไทย
ว่า ในฐานะผู้แทน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ที่ผ่านมาทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยประสบวิกฤติเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลมีโนบายบริหารจัดการและออกมาตรการดูแลประชาชนควบคู่กับการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาคส่วน ซึ่งภาคการเกษตรก็เป็นอีกหนึ่งกลไกและฟันเฟืองในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรให้มีอาชีพสร้างรายได้ สามารถผลิตอาหารที่มีคุณภาพส่งออกไปไปจำหน่ายทั่วโลก และมีเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ
เช่น ข้าวที่สามารถผลิตได้มากกว่า 20 ล้านตันต่อปี ใช้บริโภคภายในประเทศประมาณ 12-13 ล้านตันที่เหลือสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ รวมถึง มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากไก่ สินค้าประมง เป็นต้น โดยช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคมที่ผ่านมา ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นถึง 700,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 550,000 ล้านบาท จึงยันยันได้ว่าประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหาร ไม่มีขาดแคลนอย่างแน่นอน
รัฐบาล เตรียมส่งเสริมให้มีการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย โพแทสเซียม ภายในประเทศ แม้ปัจจุบันประเทศไทยจะประสบปัญหาปัจจัยด้านการผลิต โดยเฉพาะราคาปุ๋ยเคมี ที่ปรับตัวสูงขึ้น จากปัญหาความขัดแย้งในต่างประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อกลไกการนำเข้า-ส่งออกสินค้าในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลง
โดยเฉพาะสินค้าเกษตร โภคภัณฑ์ในหลายประเภท ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว นอกจากการสร้างความรู้ให้แก่เกษตรกรในการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกต้องแล้ว รัฐบาลจะมีการส่งเสริมให้มีการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ย โพแทสเซียม ภายในประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีแร่ธาตุที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตปุ๋ย รวมถึงการนำของเหลือใช้ภายในประเทศมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ควบคู่การเจรจานำเข้าเข้าปุ๋ยกับประเทศผู้ผลิตปุ๋ยในราคาที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยและสามารถนำมาทดแทนการนำเข้าแก้ไขปัญหาระยะยาวได้
26 ส.ค.นี้ ประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงด้านอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวด้วยว่า ในวันที่ 26 สิงหาคมนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงด้านอาหารเอเปค ครั้งที่ 7
โดยประเทศไทยจะใช้โอกาสจากเวทีการประชุมดังกล่าวผลักดันประเด็นหลักที่จะช่วยสนับสนุนโยบายความมั่นคงด้านอาหารและครัวไทยสู่ครัวโลก ในการผลิตสินค้าที่เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ พร้อมแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาค และจะมีการรับรองปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปคร่วมกับสมาชิกเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ
ด่วน! จนท. จับตัวผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย ว่ายน้ำหนีไป ‘พนมเปญ’
ผู้ว่ากรุงพนมเปญ ยืนยัน เจ้าหน้าที่ จับตัวผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย ซึ่งเป็นชายไนจีเรีย ผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย หลังว่ายน้ำหนีเข้ากัมพูชา ผู้ว่ากรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ยืนยันว่าสามารถควบคุมตัว นาย OSMOND CHIHAZIRIM NZEREM ผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทย ที่ถูกพบว่าเป็นผู้ป่วยรายแรกในไทยในจังหวัดภูเก็ต เมื่อช่วงวันที่ 18 ก.ค. ที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีรายงานว่าหลบหนีผ่านช่องทางธรรมชาติ
จากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สระแก้ว ทำให้ทราบว่า ผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทยรายนี้ ได้เดินทางพื้นที่คลองลึก อ.อรัญประเทศ เพื่อใช้เป็นช่องทางหลบหนีออกนอกประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ
ผู้ป่วยหลบหนีใช้เส้นทางถนนสายใหม่มุ่งหน้าสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา หรือ สะพานหนองเอี่ยน-สตรึงบท ก่อนเลี้ยวซ้ายเข้าถนนทางหลวงหมายเลข 3511 เดินเข้าช่องทางธรรมชาติบริเวณใต้สะพานและว่ายน้ำข้ามไปยังฝั่งประเทศกัมพูชา ช่วงเวลาประมาณ 19.00 น.ของเมื่อวานนี้ ก่อนจะมีคนรับตัวเดินทางต่อไปมุ่งหน้าไปยังเมืองสีหนุวิวล์ ประเทศกัมพูชา
ขณะที่นาย อนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขได้ให้สัมภาษณ์ในวันที่ 23 ก.ค. ว่า ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ได้ติดตามผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยคนดังกล่าวแล้ว เบื้องต้นยังไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยทางกระทรวงจะเฝ้าระวัง แม้ว่าโรคนี้ไม่ได้ติดกันง่ายก็ตาม
ทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรงฝีดาษลิง จะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน อาการเบื้องต้นมีหลายอย่าง อาทิ มีไข้, หนาวสั่น, ปวดหัว, เจ็บคอ, บวม, ปวดหลัง, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลีย. บางรายอาจพ่วงอาการง่วงซึม แต่เมื่อไข้ทุเลาลง อาจเกิดผื่นขึ้น มักจะเริ่มจากบนใบหน้าก่อน จากนั้นจะลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย.
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง