บาคาร่าเว็บตรง ขั้นตอนการลงทะเบียนจอง วัคซีนซิโนฟาร์ม ระยะที่ 1 สำหรับ องค์กรและหน่วยงาน เริ่ม 14 มิ.ย.นี้ วัคซีนซิโนฟาร์มราคา เข็มละ 888 บาท จองวัคซีนซิโนฟาร์ม – ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดเผยขั้นตอน วิธีการจอง วัคซีนซิโนฟาร์ม (sinopharm) ระยะที่ 1 สำหรับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ เริ่มวันที่ 14 มิถุนายน 2564
รายละเอียดดังนี้
1. องค์กรและหน่วยงาน ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ ขอรับการจัดสรรวัคซีนโควิดตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ผ่านระบบออนไลน์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ที่ https://vaccine.cra.ac.th ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป
เอกสารนิติบุคคลประกอบการยื่นแจ้งความประสงค์ขอรับจัดสรรวัคซีนตัวเลือกผ่านระบบออนไลน์
– หนังสือรับรองนิติบุคคล หุ้นส่วนบริษัทกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ ที่ออกให้ไว้ไม่เกิน 6 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องจากผู้มีอำนาจลงนาม
หมายเหตุ: สำหรับองค์กรที่เคยส่งหนังสือแจ้งความประสงค์มาแล้วก่อนหน้านั้น ขอให้ท่านดำเนินการลงทะเบียนเข้าระบบเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติและลำดับจัดสรรโควต้าต่อไป
2. คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัวเลือก ตรวจสอบคุณสมบัติและการจัดสรรโควต้าการกระจายวัคซีนตัวเลือก โดยใช้ระยะเวลา 5 วันทำการ นับจากวันที่ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์
3. คณะกรรมการบริหารวัคซีนตัวเลือก อนุมัติแจ้งจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร ระบบจะส่งอีเมล์แจ้งรหัสให้องค์กรหน่วยงานเข้าล็อกอินเพื่อรับทราบจำนวนวัคซีนที่ได้รับการจัดสรร วิธีการชำระเงิน รอบการจัดส่งวัคซีน และสถานพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีน
4. องค์กรและหน่วยงาน ทำสัญญาพร้อมชำระเงิน ตามเงื่อนไขข้อตกลง
5. องค์กรและหน่วยงาน อัพโหลดรายชื่อผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนเข้าสู่ระบบของ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ รอการกระจายวัคซีนตัวเลือก “ซิโนฟาร์ม” ไปยังสถานพยาบาลที่ได้เลือกไว้ ตามรอบการจัดส่งที่กำหนด
การเตรียมข้อมูลลงทะเบียนก่อนฉีด สำหรับองค์กรและหน่วยงาน
– เตรียมไฟล์รายชื่อผู้รับวัคซีนตาม Format ที่ได้รับแจ้งจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
– อัพโหลดรายชื่อผู้ฉีดเพื่อลงทะเบียนเข้าระบบตามโควต้าวัคซีนที่ได้รับการจัดสรรในบัญชีของบริษัท
6. ผู้ที่มีรายชื่อในระบบเข้ารับการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มกับโรงพยาบาลที่องค์กรได้เลือกประสานไว้ตามวันเวลาที่กำหนด
ผวา! ยอดโควิดสายพันธุ์อินเดีย ในประเทศไทย พุ่ง 348 ราย
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ยอดโควิดสายพันธุ์อินเดีย ที่ถูกพบในประเทศไทยอยู่ที่ 348 ราย เผยสายพันธุ์อินเดียอาจรุนแรงกว่าชนิดอื่น
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมดด้วยเครือข่ายห้องปฏิบัติการมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.สงขลานครินทร์ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไวรัสโควิด 19 ในประเทศ
ซึ่งการร่วมมือนี้จะทำให้ประเทศไทยมีข้อมูลเฝ้าระวังสายพันธุ์ที่เข้มแข็ง และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อการควบคุมป้องกันโรค การรักษา โดยจากการสุ่มตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์เชื้อไวรัสซาร์-โค-วี-2 (SARS-CoV-2) ตั้งแต่เดือน เม.ย. – มิ.ย. รวมจำนวน 4,185 ราย พบว่า สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) มีการพบมากที่สุดในประเทศไทย จำนวน 3,703 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.48
รองลงมาคือ สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จำนวน 348 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.32 สายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1 (dade G), B.1 (dade GH), B.1.1.1 (dade GR) จำนวน 98 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.34 สายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) จำนวน 26 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.62 และสายพันธุ์ B.1.524 จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.24
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า จากข้อมูลรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และ WHO พบว่าสายพันธุ์อัลฟา เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายง่าย ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม วัคซีนที่ใช้ในประเทศยังสามารถใช้ได้กับสายพันธุ์นี้
ส่วนสายพันธุ์เดลตา พบว่ามีการแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟา อย่างไรก็ตามยังไม่พบว่ามีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์อัลฟาแต่อย่างใด วัคซีนที่ใช้ในประเทศยังสามารถใช้ได้กับสายพันธุ์นี้ สายพันธุ์เบตา พบว่ามีการแพร่กระจายได้ช้ากว่าสายพันธุ์อื่น แต่ทำให้เกิดการป่วยและเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม บาคาร่าเว็บตรง